พบมากในผู้สูงอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป ที่มีภาวะหลังค่อม หรือมีความแข็งแรงของกล้ามเนื้อลดลง โดยเฉพาะในผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน และผู้ที่มีภาวะกระดูกพรุน ซึ่งมักเกิดจากการทำกิจวัตรประจำวัน เช่น ยกของหนัก หรืออุบัติเหตุหกล้มก้นกระแทกพื้น ทำให้กระดูกเกิดการยุบตัว และมีอาการปวดหลังอย่างรุนแรงทันทีเมื่อทำการเคลื่อนไหว ยืน เดิน ในบางรายมีภาวะการยุบตัวของกระดูกโดยไม่ทราบสาเหตุ
การฟื้นตัวจะใช้เวลาค่อนข้างนานเนื่องจากต้องรอให้กระดูกเชื่อมติดกัน และอาการปวดที่รุนแรงจะทำให้ผู้ป่วยเคลื่อนไหวร่างกายน้อยลง มีความเสี่ยงที่จะทำให้ความสามารถต่าง ๆ ลดลงได้

การลุกขึ้นยืนอย่างถูกวิธีจะช่วยเพิ่มความแข็งแรงกล้ามเนื้อและป้องกันการหกล้ม

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดภาวะกระดูกสันหลังยุบตัวมีความเกี่ยวข้องกับลักษณะท่าทางและความแข็งแรงของกล้ามเนื้อด้วย โดยเฉพาะผู้ที่มีภาวะหลังค่อม หรือกล้ามเนื้อแกนกลางลำตัวไม่แข็งแรงจะมีโอกาสเกิดภาวะกระดูกสันหลังยุบตัวได้ง่ายกว่า
เมื่อมีภาวะกระดูกสันหลังยุบตัวแล้ว สิ่งที่อาจจะเกิดตามมาคือ ปวดหลังเรื้อรัง ความสามารถของร่างกายลดลง
ต้องอาศัยผู้ช่วยเหลือ และมีภาวะติดเตียงได้ง่าย

การออกกำลังกายเพื่อป้องกันภาวะหลังค่อม

เป็นการเพิ่มความแข็งแรงกล้ามเนื้อที่ช่วยพยุงหลังของเราช่วยป้องกันการเกิดภาวะหลังค่อม

การออกกำลังกายเพื่อป้องกันภาวะกระดูกสันหลังยุบตัว

การเพิ่มความแข็งแรงกล้ามเนื้อแกนกลางลำตัวเป็นสิ่งสำคัญ เนื่องจากจะช่วยพยุงกระดูกสันหลังและร่างกายให้มีท่าทางที่เหมาะสม สามารถทำการเคลื่อนไหวได้อย่างมั่นคง ลดความเสี่ยงที่จะเกิดกระดูกสันหลังยุบตัวได้

ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมได้ทาง Facebook Fanpage: MatsunagaTh