หลายๆท่านคงเคยได้ยินเรื่องแผลกดทับมาไม่มากก็น้อย วันนี้เราจะนำเสนอเกี่ยวกับโอกาสการเกิดแผลกดทับ
แผลกดทับ หรือ Bedsore เป็นอาการหนึ่งที่มักจะเกิดกับผู้ป่วยหรือผู้พิการทางการเคลื่อนไหว ที่ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ จึงต้องใช้ชีวิตอยู่บนเตียงนอน
และ วีลแชร์เป็นหลัก จนส่งผลทำให้เกิดแผลกดทับ ซึ่งผู้ป่วยบางรายอาจจะป่วยเป็นอาการแผลกดทับซ้ำ ๆ หรือ บางรายมีอาการหนักจนอาจถึงขั้นต้องผ่าตัดเพื่อรักษาอาการก็เป็นได้
แผลกดทับเกิดจากการกดทับของน้ำหนักร่างกายอย่างต่อเนื่อง เป็นเวลานานทำให้ผิวหนังบางส่วนถูกกดทับ ส่งผลให้เลือดไม่สามารถไหลเวียนไปเลี้ยงผิวหนังที่ถูกกดทับได้อย่างสะดวก
โดยอาการเบื้องต้นจะเป็นรอยแดงบริเวณที่กดทับ และ อาจลุกลามไปเรื่อยจนส่งผลต่อกล้ามเนื้อ เส้นเอน และ กระดูก

แผลกดทับจำแนกออกเป็น 4 ระดับ

แผลกดทับ

  • ระดับ 1 – ผิวหนังเป็นรอยแดง
  • ระดับ 2 – ผิวหนังส่วนบนหลุดไป ฉีกขาดเป็นแผลตื้น มีรอยแดงบริเวณเนื้อเยื่อรอบ ๆ มีอาการปวด บวม แดง ร้อน มีสิ่งขับหลั่งจากแผลปริมาณเล็กน้อยหรือปานกลาง
  • ระดับ 3 – มีการทำลายผิวถึงชั้นไขมัน มีรอยแผลลึกเป็นหลุมโพรง มีสิ่งขับหลั่งออกจากแผลมาก อาจมีกลิ่นเหม็น
  • ระดับ 4 – มีการทำลายถึงเส้นเอ็น กล้ามเนื้อ กระดูก แผลเป็นโพรง มีสิ่งขับหลั่งจากแผลมาก มีกลิ่นมาก
  • การดูแลป้องกัน เพื่อไม่ให้ผู้ป่วยเกิดแผลกดทับ

  • จัดให้ผู้ป่วยนั่งบนเบาะนั่งที่มีคุณสมบัติกระจายน้ำหนัก เพื่อให้เกิดการกดทับน้อยที่สุด
  • เปลี่ยนท่าทางการนั่งทุก ๆ 2 ชั่วโมงเป็นอย่างน้อย เพื่อลดระยะเวลาการกดทับ ซึ่งเป็นบ่อเกิดที่ทำให้เกิดแผลกดทับในระยะเริ่มต้น
  • ดูแลความสะอาดผิวหนังบริเวณก้น และ แผ่นหลังเป็นพิเศษ เพื่อป้องกันผิวหนังไม่ให้เปียกชื้น
  • ตรวจสอบสภาวะผิวหนังทุกครั้งเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงอิริยาบถในการนั่ง
  • หากพบรอยแดง ควรหลีกเลี่ยงท่านั่งที่กดทับจุด ๆ เดิม ที่เริ่มเกิดเป็นรอยแดง
  • หากเป็นแผลต้องรีบรักษา และ พบแพทย์โดยเร็วที่สุด เพื่อป้องกันการลุกลาม และเพิ่มระดับของแผลกดทับ
  • ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมได้ทาง Facebook Fanpage: MatsunagaTh